วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

อุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยคาดปี 53 ส่งออกโต 10-15%

      ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย คาดว่าปี 2553 มูลค่าการส่งออกหนังฟอก สินค้าเครื่องหนัง เครื่องใช้ในการเดินทาง และรองเท้าโดยรวมจะขยายตัว 10-15% เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่มูลค่ารวมกว่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เชื่อด้วยศักยภาพที่มีอยู่ ผนวกกับการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐจะช่วยขยายโอกาสและดันยอดส่งออกทั้งปี 2553 เติบโตตามเป้า ล่าสุดเตรียมขนทัพสินค้าและนวัตกรรมร่วมแสดงในงาน BIFF & BIL 2010 พร้อมเล็งเจาะตลาดใหม่ๆ ในอาเซียน  
       “ในปี 2552 ไทยส่งออกหนังฟอกมีมูลค่ารวมกว่า 447 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าปีนี้จะขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ได้พัฒนาและปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์ของตลาดโลกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านคุณภาพและระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันภาครัฐและเอกชนก็ได้พยายามร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Thailand’s Leather Goods: Italy of the East โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา รวมถึงส่งเสริมการสร้างตราสินค้าไทย เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าไทย

      นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังไทย กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกว่า “การส่งออกเครื่องหนังปี 2552 มีมูลค่ารวม 1,422 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 14.7% เมื่อเทียบกับปี 2551 ที่มียอดส่งออก 1,771 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุหลัก คือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศระมัดระวังในการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น สั่งซื้อสินค้าเป็นล็อตเล็กลง และไม่มีการกักตุนสินค้า จะสั่งซื้อใหม่ก็ต่อเมื่อแน่ใจว่าขายหมด อย่างไรก็ตาม ปีนี้ประเมินว่ายอดส่งออกจะโต 10-15% เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวและผู้ซื้อเริ่มสั่งซื้อสินค้าไปเติมสต็อคที่ใกล้จะหมด สำหรับตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (คิดเป็นสัดส่วน 14.8%) เดนมาร์ก (7.5%) จีน (6.19%) เวียดนาม (4.81) และที่เหลือเป็นญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส ดูไบ รวมถึงประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในอาเซียนและตลาดใหม่อย่างอินเดีย ซึ่งทางสมาคมฯ กำลังเร่งเจาะตลาด เพื่อดันยอดส่งออกโดยรวมให้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมเครื่อง
     

ที่มา:บริษัท เเบรนด์คอม คอนซัลเเทนส์ จำกัด

SWOT การส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
Strength
    - มีศักยภาพที่ได้มาตรฐานของเครื่องหนัง
    - มีการพัฒนาและปรับตัวเครื่องหนังให้สอดคล้องกับเทรนด์
    - คุณภาพการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
    - มีดีไซน์เป็นของตัวเอง
Weakness
    - ยังขาดแคลนนักออกแบบรองเท้า และเครื่องหนังอื่นๆที่เป็นมืออาชีพ
Opportunity
    - มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐบาล
    - รัฐบาลช่วยในการขยายโอกาส และดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น
    - เศษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัว
Threat
    - ภาวะเศษรฐกิจถดถอยในปีที่ผ่านมาทำให้ลูกค้าต่างระมัดระวังในการสั่งซื้อ
    - ลูกค้ายังไม่มั่นใจที่จะสั่งซื้อสินค้า

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

    
                      สะพานทาวเวอร์บริดจ์ (Tower Bridge)

       สะพานทาวเวอร์บริดจ์ตั้งอยู่ข้างหอคอยลอนดอนสร้างขึ้นระหว่างปี  ค.ศ. 1886 - 1894 ใช้เวลาสร้าง 8 ปี เพื่อการสัญจรข้ามแม่น้ำเทมส์ ออกแบบสไตล์วิกตอเรียนโกธิก เป็นสะพานแบบเปิดปิดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศอังกฤษ
      โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมความงามของเมืองลอนดอนได้ที่ระดับ 140 ฟุต มีถนน 18 สายที่ข้ามสะพานนี้ สะพานแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิว ที่มีความสูงถึง 140 ฟุต


วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างปะเทศ

การตลาดระหว่างประเทศคือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล        

www1.webng.com/logisticseminar/


  การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
      สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
      1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
      2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศ
จะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น
แหล่งที่มาข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html


ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
          การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การส่งเสริมการขาย

การวางแผนการส่งเสริมการตลาดต้องสอดคล้องกับแผนการตลาดที่กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.พิจารณาโอกาสในการทำการส่งเสริมการตลาด โดยการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการส่งเสริมการตลาด
 • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความต้องการของตลาด , ทัศนคติของผู้บริโภคหรือลูกค้า , ความรุนแรงของการแข่งขัน , สภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น รวมถึงกฎระเบียบและข้อบังคับทางกฎหมาย
 • ปัจจัยภายใน ได้แก่ จุดอ่อน จุดแข็งของกิจการ , เงินทุนที่มีอยู่ , ความสามารถของผู้บริหาร ,ความสามารถในการผลิต , คุณภาพและมาตรฐานของสินค้าที่ผลิตได้ , นโยบายด้านราคาและสินค้า , นโยบายด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

2.กำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการตลาด โดยต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด แต่จะอยู่ในรูปของการสื่อสารมากกว่าในรูปของยอดขายหรือกำไร อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดจะต้องชัดเจน ง่ายต่อการนำไปปฎิบัติ และสามารถวัดและประเมินผลได้

3. กำหนดผู้รับเป้าหมาย หรือก็คือผู้ที่จะรับข่าวสารที่แน่นอน เพื่อศึกษาพฤติกรรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบข่าวสาร และพิจารณาเลือกสื่อต่างๆ ที่ตรงและเข้าถึงผู้รับเป้าหมาย รวมถึงการกำหนดรูปแบบ และเครื่องมืออื่นๆ ของการติดต่อสื่อสาร ซึ่งโดยทั่วไป ผู้รับเป้าหมายจะเป็นกลุ่มเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย

 
4.กำหนดงบประมาณในการส่งเสริมการตลาด เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาถึงส่วนผสมการส่งเสริมการตลาดที่จะใช้ ตลอดจนเครื่องมือ หรือวิธีการที่จะติดต่อสื่อสารไปยังผู้รับเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้งบประมาณที่กำหนด

5.กำหนดส่วนผสมการส่งเสริมการตลาด เป็นการพิจารณาเลือกใช้วิธีการส่งเสริมทางการตลาด โดยเลือกใช้สื่อ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะเข้าถึงผู้รับเป้าหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย
 • การโฆษณา เป็นรูปแบบค่าใช้จ่ายในการเสนอขายโดยไม่ใช้บุคคลเกี่ยวกับความคิด สินค้า หรือบริการ โดยผู้อุปถัมภ์รายการ
 • การขายโดยใช้พนักงานขาย เป็นการติดต่อสื่อสารทางตรงแบบเผชิญหน้า ระหว่างผู้ขายกับลูกค้าที่คาดหวัง
 • การส่งเสริมการขาย เป็นกิจกรรมการส่งเสริมที่นอกเหนือจากการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ การทดลองใช้ หรือการซื้อของลูกค้าขั้นสุดท้าย
 • การให้ข่าว และการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าว เป็นการส่งเสริมการขายโดยไม่ใช้บุคคล โดยไม่มีการจ่ายเงินจากองค์การที่ได้รับผลประโยชน์ ส่วนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความพยายามในการวางแผนโดยองค์การหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การให้ข่าวเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประชาสัมพันธ์
 • การตลาดทางตรง เป็นวิธีการต่างๆ ที่นักการตลาดใช้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์โดยตรง และสร้างให้เกิดการตอบสนองในทันทีทันใด ประกอบด้วย การขายทางโทรศัพท์ , จดหมายตรง , แคตตาล็อค , โทรทัศน์ , วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ที่จูงใจให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าตอบกลับเมื่อจะซื้อเพื่อรับของตัวอย่าง หรือนำคูปองจากสื่อไปใช้

6.ประสานงานและควบคุมการส่งเสริมการตลาด ซึ่งงานในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง
 • การกำหนดผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในแผนการส่งเสริมการตลาด และผู้ที่จะรับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆ
 • การประสานงานและกำหนดวิธีการประสานงาน
 • การกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ควบคุมและติดตามผลของการปฏิบัติงาน

 
7. วัดและประเมินผลการส่งเสริมการตลาด โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมถึงต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของแผนการส่งเสริมการตลาดที่ผ่านมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนต่อไปในอนาคต
ที่มา : สยามอินโฟบิส (www.siaminfobiz.com) โดย Aimanun
       : รูปมาจากการประชุมของชมรมวัดแก้ว